มือใหม่ใจเร็วอยากรับตัวแทนจำหน่าย ซื้อมาขายไปง่ายนิดเดียว!!

สวัสดีจ้า หายไปสักพักนึง พอดีกำลังซุ่มทำหลายๆ อย่าง  ส่วนงานซื้อ-ขายของออนไลน์ก็ยังขายอยู่นะคะ ไม่ได้หนีหายไปไหน 
บทความก็ทำออกมาให้ศึกษาในแง่มุมต่างๆ อยู่เรื่อยๆ ตอนนี้ก็พึ่งเปิดบล็อคใหม่ http://gastronomyitself.blogspot.com อย่าลืมไปกด Like และ Follow กันด้วยเนาะเกี่ยวกับการทำอาหาร ทำเองชิมเอง อร่อยมากๆ พอดีอยู่บ้านเลยทำกับข้าวกินเองประหยัดได้หลายมื้อ
มือใหม่ใจเร็วอยากรับตัวแทนจำหน่าย ซื้อมาขายไปง่ายนิดเดียว!!
มือใหม่ใจเร็วอยากรับตัวแทนจำหน่าย ซื้อมาขายไปง่ายนิดเดียว!!
สำหรับคนที่กำลังก้าวเข้ามา แต่อยากจะรู้ทฤษฎี และแนวทางที่ควรจะเป็นของการซื้อ-ขายของออนไลน์ ก็เข้ามาศึกษารายละเอียดในบล็อคเราก่อนได้  อ้อมได้ทำ e-book มาหนึ่งเล่มสำหรับคนที่อยาก ซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์แต่ยังไม่เคยทำ แนะนำเลยเล่มนี้เลย เพราะนำมาจากประสบการณ์ตรงๆ ที่ตอบคำถามหลายๆ คน รวบรวมข้อมูลปัญหาที่เจอ และหาอ่านไม่ได้ในหนังสือทั่วไป ตรงประเด็ดในรายละเอียด อย่าลืมติดตามกันด้วยนะคะ ขอบคุณล่วงหน้ากันเลย

ในบทความนี้จะมาบอกเล่าสิ่งที่เกิดขึ้น และความน่าจะเป็นไว้สำหรับคนที่อยากตัดสินใจ "รับตัวแทนจำหน่าย" แบบสต็อคของไว้เอง หรือ "รับตัวแทนจำหน่าย" แบบพรีออเดอร์ มีสต็อคของตัวเอง นำเข้าสินค้าผ่านทางเรือเอง หรือ ใช้บริการนำเข้าจากร้านที่เปิดรับ ต้องลงทุนยังไง แนวทางเป็นแบบไหน ทำไมเขาถึงรับ และทำได้ อยากทำแบบนี้บ้าง กินส่วนต่าง ดีกว่ามาขายเอง ต้องโปรโมท แข่งขันเยอะ ในบทความนี้จะบอกโดยละเอียดว่าทำไมเขาถึงทำได้ และเราต้องระวังอะไรถ้าต้องการรับตัวแทนจำหน่าย หรือนำเข้าสินค้าเอง

มือใหม่ใจเร็วอยากรับตัวแทนจำหน่าย ซื้อมาขายไปง่ายนิดเดียว!!

ในบล็อค รู้ก่อน ซื้อ-ขายของออนไลน์ อ้อมได้แนะนำไปบ้างแล้วเกี่ยวกับการขายสินค้าออนไลน์แบบมือใหม่เริ่มต้นควรทำยังไง เชื่อว่าหลายๆ คนได้เริ่มลองแล้ว แต่ยังไม่เห็นผล หลายๆ คนก็ทักเข้ามาว่าเปิดเพจแล้ว เริ่มทำแล้ว แต่ยังขายไม่ได้ แต่ก็ยังสู้อยู่ อย่างที่อ้อมบอกไปแล้วค่ะว่า ขายของออนไลน์ไม่ได้ยากเพียงแต่เราก็ข้ามกำแพงความคิดให้ได้ หลายๆ คนเชื่อ และคิดว่าการเปิดเพจขายของออนไลน์แน่นอนก็ต้องขายได้ และได้เงินเข้ามาบ้าง แต่พอทำจริงๆ เข้ามาในวงการจริงๆ 

ซื้อขายสินค้าออนไลน์ทำไมมันยากจัง ทำไมไม่มีคนซื้อ แบบนี้หาคนช่วยขายดีไหม รับตัวแทนจำหน่ายกันเลยดีกว่า แนะนำว่าช้าก่อน!! 

อย่าพึ่งใจเร็วด่วนตัดสินใจนะคะ กรณีการเปิดร้านใหม่ๆ ร้านเรายังไม่ดัง และยังไม่มีชื่อเสียง คนยังไม่รู้จักมาก ก็เหมือนกับตลาดวงการซื้อขายสินค้าออนไลน์ในไทยเริ่มจะบูมมากขึ้น การขยายตลาดก็เริ่มมีมากขึ้น 
เราเปิดหน้าร้านใหม่ แน่นอนว่าคนก็ยังไม่รู้ว่าเราทำอะไร อยู่ตรงไหน หลักการง่ายๆ ทำให้คนเห็นว่าเราทำอะไรที่ไหนให้มากที่สุด ย้ำนะคะ ให้คนเห็นสินค้าให้มากที่สุด เราถึงจะมีโอกาสเปิดการขาย และปิดการขายสินค้าเราได้ 

ดังนั้นช่วงแรกๆ อ้อมจึงแนะนำไปก่อนว่าอย่าตั้งเป้าว่าจะต้องขายสินค้าได้ในช่วงแรกๆ ถ้าเราไม่ได้ลงทุนซื้อโฆษณาเพื่อเรียกคนเข้าร้าน หรือเพื่อเรียกคนกด like ที่ร้าน ให้เน้นที่การวางแผนโปรโมทร้าน หาเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวกับการขายสินค้ามาโพส มาแชร์ให้มากที่สุด มีเวลาเพียงเล็กน้อยก็โพส ก็แชร์ออกไป เรื่องระยะเวลาใน e-book อ้อมมีบอกไว้ว่าควรโพสช่วงไหนยังไงถึงจะไปผล 

ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ก่อน เพื่อเรียกกระแสความนิยมเพจออกมา และสลับกับการโปรโมทร้านเราไปด้วยเรื่อยๆ 

แล้วมันเกี่ยวอะไรกับการที่เราจะรับตัวแทนจำหน่ายล่ะ เกี่ยวค่ะ ถ้าร้านเรายังไม่ดัง การหมุนเวียนสินค้ายังไม่ดีพอ สินค้าเรายังมีการรับมาจากหลายๆ ร้านเพื่อนำมาเปิดร้านอยู่ ก็เหมือนเราเป็นตัว
แทนจำหน่าย และเปิดรับตัวแทนจำหน่ายอีกต่อนึง 

สิ่งที่เราจะเจอคือ คำถามจากตัวแทนจำหน่ายเราเอง สินค้ารหัสนี้มีไหมค่ะ, สีเหมือนแบบไหมคะ, สินค้าจริงสวยไหมคะ อื่นๆ มากมาย

คำถามพวกนี้ ถ้าเราเก็บประสบการณ์การเป็นตัวแทนจำหน่ายสักระยะ จะเป็นคำถามพื้นฐาน และเราจะรู้เองว่าจะตอบแบบไหน ยังไง แต่ถ้าเรายังเก็บประการณ์ไม่พอ สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เราจะเจอ อ้อมไม่ได้บอกว่าเป็นไปไม่ได้นะคะ แต่อยากให้ใจเย็นๆ กัน ให้เราดูกำลังเราเอง ดูความสามารถของเราเองก่อน สิ่งที่เราเป็นอยู่คือ เราเองยังเป็นตัวแทนจำหน่ายอยู่ การตอบคำถามพวกนี้เราเองก็ยังไม่มีประสบการณ์มากพอ และอาจจะยังไม่เคยเห็นสินค้าจริงด้วยซ้ำ ถ้าจะเดาก็คือความเสียงว่าจะใช่เหมือนที่เราบอกไปจริงๆ หรือไม่ รวมไปถึงประสบการณ์ขายอื่นๆ ที่ควรจะมี เรายังไม่พร้อม อาจจะทำให้เราปวดหัวยิ่งขึ้นไปอีก กว่าจะเช็คสต็อคได้ กว่าจะแจ้งลูกค้าให้ทราบ เผลอๆ ต้นทุนพวกนี้พอขายสินค้าได้ก็ไม่ได้กำไรแล้ว ไหนจะค่าโทร ค่าเสื่อมต่างๆ ดังนั้นต้องตั้งสติแล้วเดินตามแผนเดิมเลยจะดีกว่า ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป

ยังไงก็ยังอยากรับตัวแทนจำหน่ายอยู่ อยากมีสินค้าสต็อคเองเลย รับแบบพรีออเดอร์ก็ได้ คุณอ้อมแนะนำหน่อยได้ไหมคะ

สำหรับคนที่ยังไงก็อยากทำ ยังไงก็อยากจะรับตัวแทนจำหน่าย สิ่งแรกที่เราต้องสนใจคือ ตัวเราเอง สำรวจความพร้อมให้กับตัวเองก่อน 

  • - การรับตัวแทนจำหน่ายเราต้องมีสินค้าเป็นของตัวเอง เรามีหรือยัง ถ้ายังไม่มีส่วนนี้ ก็ถือว่าเรายังไม่มีคุณสมบัติที่จะรับตัวแทนจำหน่าย
  • - การรับตัวแทนจำหน่ายเราต้องมีความเสี่ยงเรื่องสต็อคสินค้า เราพร้อมรับมือตรงนี้ไหม ในบล็อคอ้อมแชร์ไว้แล้วว่าเป็นตัวแทนไม่ต้องสต็อคสินค้า แต่ถ้าจะรับ เราต้องสต็อคของเอง เพื่อรองรับออเดอร์ที่จะเข้ามา ความเสี่ยงคือสินค้าทุกชิ้นถ้าเราไม่ได้ผลิตเองจากโรงงานในไทย และมีการตรวจสอบคุณภาพ การสั่งสินค้าเข้ามาอาจจะมีที่ใช้ไม่ได้ สินค้าไม่มีคุณภาพ โดยเฉพาะช่วงแรกๆ ที่เรายังไม่มีประสบการณ์ การสั่งของจากจีน ยิ่งมีความเสียงสูงจะโดนของเกรดต่ำ ซึ่งขายออกยาก หรือถ้าขายได้ลูกค้าก็จะไม่กลับมาอีกเพราะเข็ดแล้ว
  • - การรับตัวแทนจำหน่าย ต้องมีเงินทุนสำรองเผื่อไว้ ทำไมต้องมีเงินทุนสำรองเผื่อไว้ บางกรณีถ้าเราเปิดรับสินค้าแบบพรีออเดอร์ จริงอยู่ว่าลูกค้าเขายอมรับได้แล้วว่าบางทีสินค้าอาจจะไม่มา หรือมาไม่ครบ ส่วนนี้ถ้าสินค้ามาไม่ครบ เราเองที่ต้องโอนเงินคืนให้ลูกค้า แต่ความเป็นจริง ตอนที่เราสั่งของไปเราได้จ่ายเงินค้าเสื้อผ้าไปแล้ว และโดยส่วนใหญ่ถ้าสินค้ามาถึงมือเรา แล้วสินค้ามาไม่ครบ ตัวกลางผู้นำเข้าจะไม่มีนโยบายการโอนเงินคืน แต่จะเป็นเครดิตให้เราสั่งของรอบต่อไป 
  • แม้ว่าจะไม่ได้รับสินค้าพรีออเดอร์ก็ตาม แต่การสั่งของสต็อค ก็ต้องสั่งของมาล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือน และเดือนละ 2-3 รอบ ถ้าสั่งทีละเยอะๆ ก็สั่งเดือนละ 2 รอบ จำนวนเงินหลักหมื่นไปจนถึงหลักแสนแน่นอน เผลอๆ มากกว่านั้นอีก เพราะกว่าสินค้าจะเดินทางมาถึงไทยก็อาจจะใช้เวลา 15-25 วันเลย เราเองที่ต้องรับความเสี่ยงนั้นๆ ส่วนนี้ต้องเตรียมตัว เตรียมใจ และเตรียมกระเป๋าให้พร้อม 
  • - การรับตัวแทนจำหน่ายเราต้องรับความเสี่ยงเรื่องการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ โดยโอนเงินสั่งซื้อสินค้าเขามาก่อน คุณสมบัตินี้ดูเหมือนจะดูง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แต่อย่ามองข้ามขั้นตอนนี้ไปนะคะ แน่นอนว่าการที่เราจะรับซื้อสินค้านำเข้ามาได้เราต้องมีคนกลางที่เป็นผู้นำเข้ามาให้เราด้วยโดยผ่านทางเรือ เพราะต้นทุนต่ำที่สุดแล้ว  อยากทำจริงๆ ก็ต้องนำเข้าสินค้าผ่านทางเรือ สิ่งที่ควรคำนึงถึงและต้องระวัง
  • การนำสินค้าเข้ามาขายที่แบบต้นทุนต่ำที่สุดก็ต้องนำเข้ามาโดยผ่านทางเรือ ซึ่งก็ต้องมีการขนส่งผ่านตู้คอนเทนเนอร์ ตรงส่วนนี้เราเองต้องสอบถาม และตรวจสอบทางผู้ที่นำเข้ามาว่ามีมาตรฐานน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไร เขามีตัวตนจริงๆ ไหม เปิดมาแล้วกี่ปี หรือมีลูกค้ามากน้อยเพียงไร เขามีคุณสมบัติเหล่านี้หรือไม่ เช่น
  • - เขามีตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตัวเองหรือไม่ หรือมีการเช่าแบบทั้งตู้เลยหรือไม่ จริงๆ ของแบบนี้ค่อยข้างจะหายากยกเว้นรายใหญ่ๆ จริงๆ ซึ่งก็รับนำเข้าแบบแพงๆ แต่ก็ควรสอบถามไว้เพราะเป็นสิ่งที่เราควรรู้และยอมรับความเสี่ยงให้ได้ พอเรารู้และรับความเสี่ยงได้ เราก็ไม่ควรจะลงเงินไปกับเจ้านี้ทีละเยอะๆ ควรกระจายความเสี่ยงไปกับหลายๆ เจ้า
  • - เขามีการตรวจสอบสินค้าที่มากับตู้ด้วยหรือไม่ เช่น มีการนำสินค้าแบรนด์เนมเข้ามาไหม, มีการนำสินค้าลอกเลียนแบบเข้ามาไหม, ตู้นี้เคยโดนตรวจสอบ หรือตรวจจับไหม เป็นต้น 


จริงๆ รายละเอียดจะเยอะกว่านี้ อ้อมเองก็ยังศึกษาและเจอไม่หมด ถ้ามีพวกนนี้ และเรายังอยากใช้บริการ เราก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น อย่างที่เขาบอก “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดก่อนการลงทุน” ถือเป็นประโยคยอดฮิตเลยก็ว่าได้ แต่เวลาถามเอาเข้าจริงๆ ใครจะไปตอบเรื่องพวกนี้ล่ะเนาะ 

กรณีที่เขาไม่มีตู้เป็นของตัวเอง แต่เป็นการแชร์ตู้มา หรือเช่าพื้นที่บางส่วนของตู้ อันนี้ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน แชร์ตู้ยังไง (ในมุมมอง และความเข้าใจส่วนตัวที่ทำอยู่นะคะ ใครที่มองต่างหรือมีความรู้มากกว่าแชร์กันได้) ในพื้นที่ตู้คอนเทนเนอร์ 1 ตู้อาจจะมีการนำสินค้าหลากหลายแบบเข้าไปไว้ ก็เหมือนกับว่าเราไปขอแชร์พื้นที่สัก 1 จุดเพื่อนำสินค้าเข้ามา เสียค่าพื้นที่ๆ เราขอเช่านั้นตามอัตราที่กำหนด แต่เราอาจจะรู้ หรือไม่รู้ว่าสินค้าอื่นๆ เป็นอะไร และเราหรือคนรับนำเข้าก็ไม่มีสิทธิไปบอกเขาว่าห้ามนำของชิ้นนี้เข้ามา เพราะเขาเองไม่ใช่เจ้าของตู้จริงๆ กรณีนี้ถ้าเกิดมีการตรวจจับ และพบสิ่งที่ผิดกฎระเบียบ ตู้นั้นก็อาจจะถูกตรวจสอบ และอาจจะมีการกันของไว้ ส่วนระยะเวลาก็แล้วแต่ แต่นานเหมือนกันคะ (โดนมากับตัวเองแล้ว) เรียกได้ว่าของที่เราสั่งไปล็อตนั้นอาจจะไม่ได้สินค้าเลยก็ได้ หากเกิดกรณีเช่นนี้เกิดขึ้น มันแก้ไขยากเหมือนกัน ต้องรอให้คนที่โดนตรวจสอบไปสะสางเรื่องอีกที ซึ่งก็ไม่รู้เมื่อไหร่ สิ่งที่เราควรทำ เราเองที่จะต้องตรวจสอบช่วงแรกๆ ที่เราไปขอใช้บริการเขา 

ต้องสอบถามเงื่อนไขให้ดีๆ ก่อนว่า เขามีมาตรฐานรองรับเรื่องพวกนี้ไว้ด้วยหรือไม่ เช่น 
- เขามีเงินทุนสำรองสำหรับประกอบกิจการมากน้อยแค่ไหน หากเราสั่งของเป็นจำนวนมาก เช่น 20,000  บาท ขึ้นไปและเกิดของเสียหายเขาสามารถรับผิดชอบส่วนนี้ได้ไหม ยังไง เงิน 20,000 บาทบางท่านอาจจะมองว่าน้อยนิด แต่สำหรับคนที่พึ่งเริ่ม และไม่มี ก๊อก 2 ก๊อก 3 นี่คือเงินทุนก้อนที่สำคัญเลยก็ว่าได้
- หากของไม่ถึงมือเราไม่ว่าเหตุผลใดๆ เขายินดีรับผิดชอบหรือไม่ และการรับผิดชอบเขาจะให้ตัวเลือกเราแบบไหน คืนเงิน หรือให้สิทธสั่งสินค้าล็อตใหม่แบบไม่เสียเงิน คือใช้เงินจากล็อตก่อนที่เราไม่ได้สินค้าไปสั่งออเดอร์ล็อตใหม่ กรณีคืนเงิน สามารถคืนได้ทันทีที่เราแจ้งความจำนงไหม หรือต้องรอ แล้วถ้ารอระยะเวลาของการรอกี่วัน 

รายละเอียดยิบย่อยพวกนี้เราต้องสอบถามให้หมด เพราะถ้าพลาดมาอาจจะไม่ได้เงินคืน เสียโอกาส เสียทั้งเงินเลยก็ว่าได้ ถ้าเจอร้านที่เขารับนำเข้า มีการรับประกันส่วนนี้ก็ดีไป

สำหรับบทความนี้อ้อมไม่ได้เขียนบอกให้ห้ามมาทำ แต่เป็นการเตือนสติ และให้ศึกษารายละเอียดวางแผนงานให้ดีก่อน รวมไปถึงวางแผนกระเป๋าเงินเอาไว้ด้วยก็จะดี ในทางกลับกัน สิ่งที่อ้อมแชร์ออกมาก็เป็นสิ่งที่อ้อมเจอมากะตัวในสายงานการขายเสื้อผ้า บางทีสำหรับสินค้าอื่นอาจจะมีรายละเอียดที่ต่างกันออกไปด้วย แต่โดยรวมในทางหลักการก็ดูเหมือนจะคล้ายๆ กันจ้า เก็บไว้เป็นข้อมูลได้ และสามารถไปต่อยอดกันได้ 
สำหรับมือใหม่ซื้อ-ขายองออนไลน์แนะนำว่าให้เก็บประสบการณ์ อย่าพึ่งคิดมาก อย่าพึ่งท้อแท้ อ้อมเป็นกำลังใจให้ทุกๆ คน และบล้อคนี้จะเป็นบล็อคที่จะคอยให้ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลให้ได้ทราบกันเรื่อยๆ แบบไม่กักจ้า สู้ๆ นะคะ ไว้เจอกันบทความหน้านะคะ


เนื้อหาทั้งหมดจัดทำ,เรียบเรียง และเขียนขึ้นโดย แม่ค้าอ้อม

มือใหม่ใจเร็วอยากรับตัวแทนจำหน่าย ซื้อมาขายไปง่ายนิดเดียว!!

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีเปลี่ยนตำแหน่งจัดเก็บโฟลเดอร์ของ GOOGLE DRIVE ในคอมพิวเตอร์

ให้ไอมาโครส่งข้อความ facebook ถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายคุณ

พรีออเดอร์คืออะไร ?